บทที่ 2

หน่วยที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอ


1.ความหมายของการตัดต่อวิดีโอ
        การตัดต่อ หมายถึง การลำดับภาพหลายภาพมาประกอบกันโดยเรียงร้อยตามสคริป ไม่ให้ภาพขัดกับความรู้สึกหรือมีเหตุการณ์ซ้ำซ้อนกันจากนั้นใช้เทคนิคการตัดต่อให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันโดยรักษาคุณภาพของภาพและเสียงให้กลมกลืนกัน 





2.ระบบวิดีโอและการตัดต่อ
        

ระบบการตัดต่อวิดีโอแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้คือ  
      1. ระบบลิเนียร์ (Linear) 
      2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear) 
1. ระบบลิเนียร์ (Linear) เป็นระบบการตัดต่อ โดยใช้เครื่องเล่นวิดีโออย่างน้อย 1 เครื่องในการเลือกภาพ จากนั้นนำภาพที่เลือกไว้มาทำการตัดต่อโดยใช้ switcher และเครื่องบันทึกจะทำการบันทึกภาพนั้นๆ เพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการแต่หากต้องการใส่ Transition ต้องใช้เครื่องเล่นวิดีโอเพิ่มอีก 1 เครื่อง ซึ่งต้องมีชุดควบคุมเครื่องเล่นเทป เครื่องสลับภาพ เครื่องใส่เอฟเฟ็กต์ และอุปกรณ์ซ้อนตัวหนังสือ โดยชุดควบคุมเหล่านี้อาจรวมอยู่ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันหรือแยกชิ้นก็ได้ การตัดต่อด้วยระบบนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนหากเกิดข้อผิดพลาดต้องดำเนินการแก้ไขตั้งแต่จุดผิดพลาดไปจนถึงจุดสุดท้ายระบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรเพราะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงทั้งค่าเทปและค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ เป็นต้น 


รูปที่ 1 ระบบการตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่นวิดีโอ 1 เครื่อง
      รูปที่ 2 ระบบการตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่นวิดีโอมากกว่า 1 เครื่อง 
   
2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear) เป็นการตัดต่อโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นหลักโดยมีจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ 2 จอ จอหนึ่งเป็นภาพสัญญาณที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์อีกจอแสดงภาพลำดับการตัดต่อและมีซอฟท์แวร์ที่ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ คือ การจับภาพ (Capture) กรรมวิธีในการตัดต่อ (Actual Editing) และการนำออก (Exporting) การตัดต่อระบบนี้สามารถเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ดิจิตอลที่การลำดับภาพสามารถเลือกช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ สามารถแก้ไขได้สะดวกข้อดีของระบบนี้ คือ 
    1. ประหยัดค่าใช้จ่ายและพื้นที่การทำงาน  
    2. สามารถค้นหา คัดเลือกภาพ ทำงานในช่วงต่างๆ ได้อย่างอิสระ และรวดเร็ว  
    3. สามารถผลิตชิ้นงานได้ง่ายและน่าสนใจ เช่น ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ กราฟิก และแอนิเมชั่นได้หลากหลาย เป็นต้น   
    4. ชิ้นงานมีคุณภาพสูง    
    5. สามารถแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีร่วมกันได้ เช่น เครื่องเล่นเทป,ฮาร์ดดิสก์,สแกนเนอร์ เป็นต้น 
    6. เผยแพร่ข้อมูลในรูปดิจิทัลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บนอินเทอร์เน็ต บันทึกลงแผ่นวิดีโอซีดี เป็นต้น 
                               รูปที่ 3 ระบบนอนลิเนียร์ 

3.พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟล์วิดีโอ
        วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อนการนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)


4.อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตัดต่อวิดีโอ
1.  เครื่องคอมพิวเตอร์
     คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำ ดังนี้
     * ซีพียูแนะนำ Pentium  4  ความเร็ว  1  GHz  ขึ้นไป
     * แรมหรือหน่วยความจำขนาด 512  MB ขึ้นไป
     * ฮาร์ดดิสก์  80  GB  ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุ  ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว 
     * ระบบปฏิบัติการแนะนำให้ใช้ Windows XP/2000ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟล์วิดีโอ
2.  กล้องถ่ายวิดีโอ
     กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภทหลายรูปแบบแต่ในที่จะกล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอลหรือกล้องดิจิตอลแบบ MiniDV
    
3.  Capture  Card (การ์ดจับภาพวิดีโอ)
     เนื่องจากเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ในกล้องวิดีโอมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง  ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์หรือการ์ดจับภาพวิดีโอช่วยเปลี่ยนเสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูลจากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเองและแคปเจอร์หรือการ์ดจับภาพวิดีโอก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน
4.  ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
      อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบ VCD หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยากราคาก็ไม่แพง

5.  แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูล
     แผ่น CD-R (CD-ReWrite หรือ CD Record) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น



5.ขั้นตอนการตัดต่อวิดีโอ
        1.Capture เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้
คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียวหรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย 
        2.Edit ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กันก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่นหลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่องเหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วนก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออกและการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ ฝนตกในคลิปวีดีโอทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
         3.Effect ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition)
ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิปทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
        4.Overlay ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
        5.Title ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
        6.Audio ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่นCD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับ ในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น
        7.Share ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขั้นตอนการตัดต่อวีดีโอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำอธิบายรายวิชา

วิชา การประยุกต์ใช้โปรแกรมสื่อประสม จุดประสงค์รายวิชา  เพื่อให้     1.เข้าใจการประยุกต์ใช้โปรแกรมสื่อประสม     2.มีทักษะ สร้างส...